วันศุกร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2556

การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล


 การจัดการข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และฐานข้อมูล 

ข้อมูล (Data) หมายถึง ความจริง (fact) ซึ่งสามารถบันทึกไว้ได้ และมีความหมายอยู่ในตัว


ข้อมูลถือได้ว่าเป็นหัวใจสำคัญของระบบงานคอมพิวเตอร์ เนื่องจากการประมวลผลทางคอมพิวเตอร์ทุกประเภทจะเป็นการประมวลผลข้อมูลในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อให้ได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการออกมา หากข้อมูลที่ป้อนให้คอมพิวเตอร์ผิด ผลลัพธ์ที่ได้จากคอมพิวเตอร์ก็จะไม่มีคุณค่าอะไรเลย หรือที่เรียกว่า ป้อนขยะเข้าย่อมได้ขยะออกมา (garbage in - garbage out)

การศึกษาเรื่องของข้อมูล ทั้งในเรื่องของวิธีแทนข้อมูลในคอมพิวเตอร์ วิธีจัดเก็บข้อมูลตลอดจนวิธีการจัดข้อมูลซึ่งมีปริมาณมาก ๆ และมีความสัมพันธ์กัน เป็นหัวข้อพื้นฐานที่ผู้ศึกษาในเรื่องคอมพิวเตอร์ต้องทราบ เพื่อให้สามารถประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดต่อไป
รหัสแทนข้อมูล


ระบบคอมพิวเตอร์เป็นระบบที่ใช้สัญญาณทางไฟฟ้าในการทำงาน ทำให้มีสองสถานะคือเปิด (ON) และปิด (OFF) จึงต้องหาวิธีในการแทนที่สองสถานะนี้ นั่นคือการใช้เลขฐานสอง (Binary Number System) ซึ่งประกอบจากเลข 0 และ 1 แทนความหมายของข้อมูลต่าง ๆ หากพิจารณาเลขฐานสองเพียงหนึ่งหลัก จะเห็นว่าสามารถแทนข้อมูลได้เพียงสองชนิดเท่านั้นคือ 0 และ 1 ในขณะที่เลขฐานสองสองหลักจะสามารถแทนข้อมูลได้ 4 ชนิดคือ 00 , 01 , 10 และ 11 ดังนั้นหากต้องการใช้เลขฐานสองในการแทนข้อมูลจำนวนมาก เช่น นำมาแทนตัวอักษรต่าง ๆ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็จะต้องใช้เลขฐานสองจำนวนหลายหลัก
ระบบไฟล์ข้อมูล


หน่วยเก็บข้อมูลสำรองของคอมพิวเตอร์จะเก็บข้อมูลในรูปของตัวเลขฐานสอง ซึ่งจะประกอบกันเป็นแฟ้มข้อมูลหรือ ไฟล์ (File) โดยที่ไม่ว่าจะใช้สื่อเก็บข้อมูลชนิดใดก็ตาม ทุกอย่างที่เก็บอยู่ในหน่วยเก็บข้อมูลสำรองต้องอยู่ในรูปของไฟล์ ไฟล์ก็คือบริเวณใดบริเวณหนึ่งบนหน่วยเก็บข้อมูลสำรองที่ถูกกำหนดให้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลต่าง ๆ นั่นเอง

ไฟล์สามารถแบ่งออกเป็นหลายชนิด การอ้างถึงไฟล์ต่าง ๆ สามารถอ้างด้วยชื่อของไฟล์นั้น ไฟล์หลาย ๆ ไฟล์จะถูกจัดเก็บไว้รวมกันอยู่ในไดเรกทอรี่ (Directory) หรือ โฟลเดอร์ (folder) ซึ่งเปรียบเสมือนตู้เอกสารที่เก็บเอกสารหลาย ๆ แฟ้มไว้ด้วยกัน และในหน่วยเก็บข้อมูลหนึ่ง ๆ อาจมีหลาย ๆ ไดเรกทอรี่ใด ซึ่งนิยมพิจารณาจากข้อมูลที่เก็บอยู่ในไฟล์เหล่านั้น โดยหากข้อมูลในไฟล์มีความสัมพันธ์กันก็จะจัดให้อยู่ในไดเรกเทอรี่เดียวกัน หากข้อมูลต่างประเภทกันก็ควรพิจารณาจัดไว้ในไดเรกทอรี่อื่น
ระบบฐานข้อมูล


จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในระบบจัดการข้อมูลแบบไฟล์ ทำให้เกิดแนวความคิดที่จะสร้างระบบการจัดการข้อมูลแบบใหม่ ซึ่งสามารถทำการจัดการ ดูแลรักษา ตรลดจนเรียกใช้ได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อันจะทำให้งานการสร้างและใช้งานข้อมูลกระทำได้อย่างรวดเร็วและเสียค่าใช้จ่ายน้อยลง
ระบบจัดการฐานข้อมูล



ระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือที่นิยมเรียกว่า ดีบีเอ็มเอส (DBMS) คือชุดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่สร้าง ดูแลรักษา และใช้งานส่วนต่าง ๆ ของฐานข้อมูล ดังรูป


ระบบฐานข้อมูล

ระบบการจัดการฐานในระยะแรกจะถูกพัฒนาเพื่อใช้บนเครื่องเมนเฟรม แต่ในปัจจุบันสาารถพบได้ในคอมพิวเตอร์ทุกขนาด โดยมีอัตราการเติบโตของการใช้งานประมาณ 30-35% ต่อปี

โดยปกติแล้ว วิธีการเรียกใช้ ตลอดจนเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลที่จัดเก็บไว้ในฐานข้อมูลมีวิธีต่าง ๆ ดังนี้

  • เชื่อมโยงกับภาษาการโปรแกรม (Programming Language Interfaces) นิยมใช้วิธีนี้ในการเขียนโปรแกรมที่ต้องมีการเรียกใช้หรือแก้ไขค่าของข้อมูลในฐานข้อมูล ตลอดจนการสร้างรายงานที่มีการคำนวณซับซ้อน อาจใช้ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาซี หรือภาษาในระดับสูงและสูงมากอื่น ๆ ในการเชื่อมต่อเข้ากับฐานข้อมูลก็ได้
  • ภาษาในการจัดการข้อมูล (Query language) เป็นภาษาที่ถูกออกแบบมาโดยเฉพาะให้ใช้กับฐานข้อมูล นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะใช้ง่ายแลเรียกดูข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว จัดเป็นภาษาในยุคที่ 4 ไม่ต้องมีการแปลภาษา (compile) หรือ เชื่อมโยง (link) ก่อนใช้งาน
  • ตัวรายงาน (Report Generator) ถูกออกแบบมาให้สร้างรายงานที่ซับซ้อนและมีขนาดใหญ่หรือยาวมากได้อย่างรวดเร็ว
  • โปรแกรมอรรถประโยชน์ของระบบ (System utilities) จะเป็นโปรแกรมที่ถูกใช้งานโดย ผู้จัดการระบบ (system manager) หรือที่นิยมเรียกว่า ผู้ดูแลระบบฐานข้อมูล (database administrator) โปรแกรมประเภทนี้นิยมใช้ในการ เก็บสำรอง (backup) ฐานข้อมูล เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล หรือจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลรวมทั้งการ เรียกคืน (restore) ข้อมูลในกรณีที่ระบบมีปัญหา
ฐานข้อมูลแบบกระจาย

ฐานข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูลที่อยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์เพียงเครื่องเดีวที่มีหน่วยเก็บข้อมูลสำรองอยู่ เรียกว่าเป็น ระบบฐานข้อมูลศูนย์กลาง (Centralized database system) เพราะอุปกรณ์ต่าง ๆ ของระบบติดตั้งอยู่บนเครื่องเพียงเครื่องเดียว หรือเรียกว่าไซต์ (site) เดียวเท่านั้น ถึงแม้ว่าฐานข้อมูลดังกล่าวอาจจะถูกเรียกใช้ข้อมูลจากเทอร์มินับระยะไกลที่ติดต่อเข้ามายังเครื่องส่วนกลางนั้น แต่ข้อมูลและระบบจัดการฐานข้อมูลยังคงทำงานอยู่บนเครื่องเพียงเครื่องเดียว

ในปัจจุบันมีการใช้ฐานข้อมูลจากหลาย ๆ เครื่องหรือหลายไซต์ โดยผ่านระบบเครือข่ายการสื่อสาร เรียกว่า ฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database System หรือ DDBSs) ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูลแบบนี้เรียกว่า ระบบจัดการฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distributed Database Management System หรือ DDBMS)

ฐานข้อมูลแบบกระจายเป็นที่รวมของข้อมูลซึ่งอยู่บนระบบเดียวกัน แต่ในทางกายภาพมีการจัดเก็บกระจายอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องหรือหลายไซต์ และมีการเชื่อมต่อกันผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์

เครือข่ายคอมพิวเตอร์


เครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ในยุคก่อนที่เครือข่ายคอมพิวเตอร์จะถือกำเนิดขึ้นนั้น การติดต่อส่งข้อมูลข่าวสารจะผ่านทางสื่อต่าง ๆ เช่น ไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ เป็นต้น ซึ่งแต่ละสื่อก็จะมีข้อดีและข้อจำกัดต่าง ๆ กันไป แต่ในปัจจุบันนี้ สื่อที่สร้างความเปลี่ยนแปลงในการส่งข้อมูลข่าวสารมากที่สุด ก็คือระบบการสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือกล่าวได้ว่าประโยชน์สูงสุดอย่างหนึ่งของคอมพิวเตอร์ในยุคแห่งสารสนเทศนี้ ก็คือการช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสาร และแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างกว้างขวางและรวดเร็ว


ความรู้พื้นฐานของการสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์

          การสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ คือ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างต้นทางและปลายทาง โดยใช้อุปกรณ์ทางอิเลคทรอนิคส์ ซึ่งเชื่อมอยู่ด้วยสื่อกลางชนิดใดชนิดหนึ่ง

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ ระบบการเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ตั้งแต่สองตัวขึ้นไป เพื่อให้สามารถทำการสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลทางอิเลคทรอนิคส์ระหว่างกันได้นั่นเอง
การประมวลผลข้อมูลกับการสื่อสารข้อมูลทางอิเลคทรอนิกส์

เมื่อระบบการสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์พัฒนาก้าวหน้าขึ้น จึงมีการประยุกต์ใช้วิธีการสื่อสารข้อมูลแบบต่าง ๆ เข้าช่วยให้การใช้งานคอมพิวเตอร์เพื่อการประมวลผลข้อมูลเป็นไปได้อย่างสะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการประมวลผลของคอมพิวเตอร์ด้วย
แบบจำลองสำหรับอ้างอิง

ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยใหม่จะถูกออกแบบให้มีโครงสร้างที่แน่นอน และเพื่อเป็นการลดความซับซ้อน ระบบเครือข่ายส่วนมากจึงแยกการทำงานออกเป็นชั้น ๆ โดยกำหนดหน้าที่ในแต่ละชั้นไว้อย่างชัดเจน
ช่องทางการสื่อสารข้อมูล

เครือข่ายคอมพิวเตอร์นอกจากจะประกอบขึ้นจากการนำคอมพิวเตอร์มาเชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายแล้ว ยังต้องมีช่องทางหรือสื่อกลาง ( media) ในการส่งผ่านข้อมูล ซึ่งในปัจจุบันจะมีอยู่มากมายหลายแบบ และแต่ละแบบก็จะมีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันไป สิ่งที่จะต้องคำนึงในการเลือกช่องทางที่ต้องการคือ
อัตราเร็วในการส่งผ่านข้อมูล (Transmission Rate) อาจเลือกได้ตั้งแต่ความเร็วอยู่ในหลัก Kbpd (กิโลบิตต่อวินาที ) จนถึงหลายสิบ Mbps (เมกะบิตต่อวินาที )
ระยะทาง (Distance) ต้องคำนึงถึงระยะทางระหว่างอุปกรณ์ที่ต้องการเชื่อมต่อกันด้วย โดยอาจห่างกันตั้งแต่ไม่กี่ฟุตจนถึงหลายพันกิโลเมตร
ค่าใช้จ่าย (Cost) อาจต้องเสียค่าใช้จ่ายในการติดตั้งครั้งแรกและค่าใช้จ่ายประจำ
ความสะดวกในการติดตั้ง (Each of Installtion) เนื่องจากบางพื้นที่อาจไม่สะดวกที่จะเดินสาย หรือไม่อาจใช้สื่อบางประเภทได้
ความทนทานต่อสภาพแวดล้อม (Resistance to Environmental Conditions) เช่น สื่อบางประเภทอาจมีข้อจำกัด เมื่อสภาพแวดล้อมมีการเปลี่ยนแปลง


ในการใช้งานจริงนั้น จะสามารถใช้งานช่องทางต่าง ๆ มากกาว่าหนึ่งช่องทางพร้อม ๆ กันขึ้นกับความเหมาะสม ซึ่งสามารถจำแนกช่องทางสำหรับการสื่อสารข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบันออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ดังนี้



การทำงานร่วมกันของข่องทางต่าง ๆ

อุปกรณ์สื่อสารข้อมูล

          ในการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าเป็นเครือข่าย จะต้องทำการเชื่อมระหว่างอุปกรณ์และสื่อกลางแบบต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ซึ่งอาจมีความต้องการเฉพาะรูปแบบต่าง ๆ เช่น การรวมข้อมูลจากหลาย ๆ จุดเพื่อส่งผ่านไปยังสายเคเบิลโทรศัพท์เพียงสายเดียว หรืออาจต้องการขยายระยะทางการใช้งาน รวมทั้งอาจต้องเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายที่มีลักษณะแตกต่างเข้าด้วยกัน ความต้องการเหล่นี้ทำให้ต้องใช้อุปกรณ์พิเศษที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเฉพาะงาน
ชนิดของระบบเครือข่าย
ระบบเครือข่าย LAN


ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่าง ๆ มากมาย เช่น
สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่าง ๆ เฉลี่ยกันไป
  • สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดรฟ์ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
  • สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่าง ๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
  • สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
  • สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
  • ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร


ระบบเครือข่าย WAN

          ระบบเครือข่ายแบบ WAN หรือระบบเครือข่ายระยะไกล จะเป็นระบบเครือข่ายที่เชื่อมโยงเครือข่ายแบบท้องถิ่นตั้งแต่ 2 เครือข่ายขึ้นไปเข้าด้วยกันผ่านระยะทางที่ไกลมาก โดยการเชื่อมโยงจะผ่านช่องทางการสื่อสารข้อมูลสาธารณะของบริษัทโทรศัพท์ หรือองค์การโทรศัพท์ของประเทศต่าง ๆ เช่น สายโทรศัพท์แบบอนาลอก สายแบบดิจิตอล ดาวเทียม ไมโครเวฟ เป็นต้น
การประยุกต์ใช้งานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

          ในโลกปัจจุบัน กล่าวได้ว่าระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เป็นส่วนสำคัญที่สุดในระบบงานต่าง ๆ มากมาย เนื่องจากได้มีการประยุกต์ใช้ในส่วนต่าง ๆ ทั้งในทางธุรกิจ การศึกษา การบันเทิง ฯลฯ และในโลกยุคต่อไปการประยุกต์ใช้เหล่านี้จะมีมากขึ้นเรื่อย ๆ ดังจะเห็นได้จากความเฟื่องฟูของระบบเครือข่าย INTERNET ซึ่งเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงโลกให้เป็นหนึ่งเดียว








การแก้ปัญหาที่มักเกิดกับคอมพิวเตอร์ Notebook

การแก้ปัญหาที่มักเกิดกับคอมพิวเตอร์ Notebook

แบตเตอรรี่หมดเร็ว ใช้ไม่นานก็หมดแล้ว

          แบตเตอรี่หมดเร็ว สาเหตุหลักๆ มาจากนิสัยในการใช้งาน เช่น ดูหนัง ฟังเพลง เป็นต้น เพราะว่า Notebook ต้องใช้ไฟมากในการขับดันเสียงออกมาด้วย ดังนั้นจะทำให้แบตฯ หมดเร็วกว่าปกติ และนอกจากนี้ถ้ามีการใช้ Wireless หรือ Bluetooth ก็ทำให้แบตเตอรี่หมดเร็วขึ้นอีกด้วยเช่นกัน ท้ายสุดน่าจะมาจากการกำหนดความสว่างของหน้าจอคอมพิวเตอร์ ถ้าเปิดสว่างมากก็เป็นปัญหาอีกส่วนหนึ่งด้วยเช่นกัน

•แบตเตอรี่ชาร์ตไฟไม่เข้า?ถอดปลั๊กไฟ คอมพิวเตอร์ก็ดับทันที?
แบตเตอรี่เสื่อม ให้หาซื้อของใหม่มาเปลี่ยนได้เลย แต่ถ้าต้องการราคาถูก สามารถหาซื้อเปลี่ยนไส้แบตได้ตามห้างไอทีทั่วไป?

•Windows ค้าง ปิดสวิทซ์ไฟก็ไม่สามารถทำได้
ให้ลองกดปุ่มสวิทซ์ค้างไว้ประมาณ 5-10 วินาที ถ้ายังไม่สามารถปิดได้ให้ถอดแบตเตอรี่ออก และรอสักประมาณ 30 วินาที แล้วค่อยใส่เข้าไปใหม่

•ระบบเสียงของ Notebook เปิดยังไงก็ไม่ดัง
ปกติลำโพงของ Notebook ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถเปิดเสียงได้ดังมากนัก แต่ถ้าไม่ดังเลยให้ลองตรวจสอบ Volumn Control? รูปลำโพง ที่ Taskbar ว่ามีการกำหนด Mute หรือปิดเสียงหรือเปล่า ถ้าไม่ใช่ ให้ลองดูที่ Device Manager (คลิกขวาที่ My Computer เลือก Properties จากนั้นคลิกแท็ป?Hardware และเลือก Device Manager) เพื่อตรวจสอบว่า Drive ของ sound card ติดตั้งถูกหรือเปล่า สังเกตว่าถ้ามีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย “!” และมีกากบาท “x” แสดงว่ามีปัญหา ให้ลองหาแผ่น driver มาลองติดตั้งใหม่

•หน้าจอ ไฟไม่ค่อยสว่าง
สำหรับ Notebook? หน้าจอ?LCD หลายๆ รุ่นจะคำสั่งในการปรับความสว่าง เช่น กดปุ่ม FN+ เพิ่มความสว่าง?(ดูสัญลักษณ์รูปดวงไฟ)?หรือกดปุ่ม FN + ลดความสว่าง (ดูสัญลักษณ์รูปดวงไฟ)?เพื่อปรับความสว่าง เป็นต้น และโดยปกติ ถ้าใช้งาน Notebook โดยไม่ได้มีการเสียบปลั๊กไฟ?การใช้งาน Notebook จะมีการปรับลดความสว่างอัตโนมัติ เพื่อประหยัดไฟให้ครับ แต่ถ้าต้องการปรับเปลี่ยนก็สามารถทำได้ปกติ??

•Notebook เครื่องร้อนเร็ว
สาเหตุอาจมาจากการทีเราไม่ได้ใช้ CPU รุ่นประหยัดไฟ เช่น Intel Centrino เป็นต้น นอกจากนี้ก็อาจขึ้นกับช่องระบายความร้อนของ Notebook แต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ?แต่วิธีที่ช่วยให้เครื่อง Notebook ร้อนช้าลง ก็คือ ใช้งานในห้องที่เปิดแอร์ หรือหาอุปกรณ์ที่รอง Notebook และมีพัดลมระบายอากาศ?

โปรแกรมป้องกันไวรัสมี


          โปรแกรมป้องกันไวรัส (อังกฤษ: Antivirus software) หรือในวงการเรียกว่า แอนติไวรัส/แอนติสปายแวร์(Anti-Virus/Anti-Spyware) เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นเพื่อป้องกันและกำจัดไวรัสคอมพิวเตอร์(ต่อจากนี้จะเรียกว่าไวรัส)จากผู้ไม่หวังดีทางอินเทอร์เน็ต

โปรแกรมป้องกันไวรัสมี 2 แบบใหญ่ๆ

1.แอนติไวรัส เป็นโปรแกรมโปรแกรมป้องกันไวรัสทั่วๆไป จะค้นหาและทำลายไวรัสในคอมพิวเตอร์ของเรา
2.แอนติสปายแวร์ เป็นโปรแกรมป้องกันการโจรกรรมข้อมูล จากไวรัสสปายแวร์ และจากแฮ็คเกอร์
รวมถึงการกำจัด Adware ซึ่งเป็นป๊อปอัพโฆษณาอีกด้วย

          โปรแกรมป้องกันไวรัสจะค้นหาและทำลายไวรัสที่ไฟล์โดยตรง แต่ในทุกๆวันจะมีไวรัสชนิดใหม่เกิดขึ้นมาเสมอทำให้เราต้องอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสตลอดเวลาเพื่อให้คอมพิวเตอร์ของเราปลอดภัย โดยแอนติไวรัสจะมีหลายรูปแบบตามบริษัทกันไปและแต่ละบริษัทจะมีการอัปเดตและการป้องกันไม่เหมือนกันเหมือนกันแต่ในคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวไม่ควรมีแอนติไวรัส 2 โปรแกรมเพราะจะทำให้โปรแกรมขัดแย้งกันเองจนไม่สามารถใช้งานได้
(อ้างอิงจาก http://th.wikipedia.org/wiki)


รายชื่อของโปรแกรมป้องกันไวรัสและโปรแกรมป้องกันสปายแวร์



BitDefender
ClamWin
Kaspersky
F-Secure Anti-Virus
PC-cillin
ESET Nod32
McAfee VirusScan
Norton AntiVirus
AVG AntiVirus
eTrust EZ Antivirus
Norman Virus Control
AntiVirusKit
AVAST!
Panda Titanium
F-Prot
PCTools AntiVirus
ViRobot Expert
CyberScrub AntiVirus
The Shield AntiVirus
Windows Live OneCare
Spy Sweeper
Aluria Anti-Spyware
CounterSpy
ThreatFire
Trend Micro Anti-Spyware
Spyware Doctor With AntiVirus
SUPERAntiSpyware โปรแกรมฟรี ใช้ได้ตลอด
PestPatrol
Ad-aware SE Pro
MalwareBytes Anti-Malware
McAfee AntiSpyware
Maxion Spy Killer
SpyHunter
SpyRemover
XoftSpy
Polskie Antywirusowy เดิมชื่อว่าAntivirusPL เป็นของประเทศโปแลนด์

ไวรัสคอมพิวเตอร์





          จำความได้ตั้งแต่เริ่มเล่นคอมพิวเตอร์วันแรก ใคร ๆ ก็บอกให้ระวังไวรัส จะใช้งานคอมพิวเตอร์กันสักครั้งก็ต้องคอยระวังไวรัส ไวรัสสมัยแต่แรกจะระบาดผ่านทาง Floppy Disk กันเท่านั้น ซึ่งเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ไม่มีใครคิดหรอกว่าสามารถเอาข้อมูลใส่แผ่น CD ได้ ดังนั้นเมื่อก่อนไวรัสจะแพร่กระจายช้า และมีอยู่ไม่กี่รูปแบบ สามารถป้องกันได้ หากไม่ให้ใส่แผ่น Floppy Disk ไวรัสก็ไม่สามารถเข้าเครื่องได้แล้ว
ผ่านมาเกือบ 20 ปี สิ่งที่คิดว่าสูงเกินเอื้อม กลับมีไว้ในครอบครอง สิ่งที่คิดว่าเป็นเทคโนโลยีสำหรับคนรวย กลับมีใช้กันอย่างสามัญ ตัวไวรัสก็เช่นกัน จากที่ระบาดเฉพาะแผ่น Floppy Disk กลายเป็นระบาดผ่าน ThumbDrive (Flash Drive)จากที่ระบาดจากเครื่องไปสู่เครื่อง กลายเป็นระบาดจากเครื่องไปสู่องค์กร ทั่วทุกมุมโลกในพริบตาตัวไวรัสเองก็มีหลายรูปแบบขึ้น แต่จุดมุ่งหมายหลักส่วนใหญ่มักประสงค์ร้าย กับคอมพิวเตอร์หรือระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หากดูข่าวว่ามีไวรัสระบาดที่อเมริกาเมื่อ 5 นาทีที่ผ่านมา คุณอาจเห็นว่ามันไกล แต่ด้วยเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ทที่เชื่อมโยกคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันจากทั่วทุกมุมโลกเจ้าไวรัสที่ระบาดในอเมริกาเมื่อ 5 นาทีนั้นอาจอยู่ในเครื่องของคุณแล้วด้วย







อาการของคอมพิวเตอร์ที่สงสัยว่าติดไวรัส


1.ชอบมีหน้าต่างโฆษณาผุดขึ้นมาบ่อยๆจนน่าลำคาญ ทั้งๆที่ไม่ได้รับเชิญ
2.มีโปรแกรมบางอย่างติดตั้งอยู่ในเครื่อง ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้ง บางโปรแกรม ถอนการติดตั้งไม่ได้ ลบก็ไม่ออก
3.รีสตาร์ทเครื่องเอง ทั้งๆที่ไม่ได้สั่ง หรือเครื่องแฮงค์อยู่บ่อยๆ(กรณีย์เช็คHardwareแล้วปกติ)
4.ปรากฏหน้าโฮมเพจแปลกๆ ที่เราไม่ได้ตั้งค่าไว้ และไม่สามารถตั้งค่าโฮมเพจใหม่ได้
5.ขณะที่กำลังเข้าชมเว็บไซด์ที่ต้องการ กลับมีมีเว็บไซด์อื่นที่ไม่รู้จักปรากฏออกมาด้วย
6.อินเทอร์เน็ตช้าลงอย่างไม่รู้สาเหตุ
7.เครื่องทำงานได้ช้าลง เนื่องจากต้องเสียหน่วยความจำ(Ram)ไปให้กับไวรัส หรือHarddisk ทำงานตลอด
สังเกตุไฟสีแดงจะค้าง
8.ปรากฏ เมล์ ที่ไม่รู้จักอยู่เต็มไปหมด
9.บางโปรแกรมที่เราติดตั้งไว้ในเครื่องไม่ทำงาน ข้อมูลในเครื่องได้รับความเสียหาย เปิดอ่านไม่ได้
แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก
่ หรือถูกลบหรือหายไปโดยไม่ทราบสาเหตุ
10.บางครั้งสั่งพิมพ์งานแต่เครื่องพิมพ์(Printer)กลับไม่ตอบสนองคำสั่ง หรือสั่งแล้วพิมพ์ไม่หยุด
11.มีแถบเครื่องมือหรือทูลบาร์แปลกๆ ในเว็บบราวเซอร์ ที่ท่านใช้Onlineอยู่ ทั้งๆที่ไม่ได้ติดตั้ง
12.มีIconชอร์ตคัท ของโปรแกรมที่เราไม่รู้จัก อยู่บนเดสก์ทอป ทั้งๆที่ไม่เคยสั่งติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม
(อ้างอิงจาก http://www.eclubthai.com/board/index.php?action=printpage;topic=2941.0)
13.ทำงานช้าลง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เคยทำงานรวดเร็ว ต่อมาเกิดอาการเฉื่อยลง การเปิดแฟ้มช้าลง
บางครั้งมีภาพหรืออักษรประหลาดขึ้นมาบนจอภาพ
14.แผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม ไวรัสบางโปรแกรมจะเพิ่มขนาดให้กับแฟ้มข้อมูล หรือ โปรแกรม
ทำให้แฟ้มข้อมูลโตขึ้นทุกครั้งที่ใช้งานจนในที่สุดจะมีข้อความแจ้งว่าแผ่นบันทึกข้อมูลเต็ม
15.แฟ้มหรือโปรแกรมถูกทำลาย ไวรัสบางโปรแกรมจะทำลายโปรแกรมหลักได้แก่ โปรแกรมที่
มีประเภทเป็น .EXE และ .COM ทำให้นำโปรแกรมมาทำงานไม่ได้
(อ้่างอิงจาก http://blog.hunsa.com/gracy6111/blog/3194)




การดูแลรักษาคอมพิวเตอร์





          คอมพิวเตอร์ เมื่อใช้ไประยะหนึ่งจะมีการเสื่อมชำรุดไปตามสภาพระยะเวลาที่ใช้งาน ผู้ใช้คอมพิวเตอร์จึงควรเอาใจใส่ ดูแลและบำรุงรักษา อย่างเหมาะสมสม่ำเสมอเพื่อเพิ่มอายุ การใช้งานของเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งจะช่วยให้สามารถ ประหยัดงบประมาณในการซ่อมบำรุงหรือการเปลี่ยนอุปกรณ์
การทำความสะอาดระบบคอมพิวเตอร์ 

          1. ไม่ควรทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์ในขณะที่เครื่องยังเปิดอยู่ ถ้าคุณจะทำความ สะอาดเครื่อง ควรปิดเครื่องทิ้งไว้ 15-20 นาที ก่อนลงมือทำความสะอาด
          2. ห้ามใช้ผ้าเปียก ผ้าชุ่มน้ำ เช็ดคอมพิวเตอร์อย่างเด็ดขาด ในกรณีต้องการทำความสะอาดภายนอก ควรใช้น้ำยาสำหรับทำความสะอาดเครื่องคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะและทำความสะอาดตาม ที่แนะนำไว้ในคู่มือเท่านั้น
          3. ห้ามเปิดเครื่องเพื่อทำความสะอาดภายในคอมพิวเตอร์ด้วยตนเอง หรือดูดฝุ้นด้วยเครื่องดูดฝุ่นเพราะจะทำให้ระบบของเครื่องเกิดความเสียหายได้ ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

          4. ไม่ควรฉีดสเปรย์ใด ๆ ไปที่คอมพิวเตอร์ แป้นพิมพ์ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในกรณีที่ต้องใช้สเปรย์ทำความสะอาด ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของช่างซ่อมคอมพิวเตอร์

          5. ไม่ควรดื่มน้ำชา กาแฟ เครื่องดื่มต่าง ๆ ในขณะที่ใช้คอมพิวเตอร์

          6. ไม่ควรกินของคบเคี้ยวหรืออาหารใด ๆ ขณะทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์


หน้าต่างวินโดสว์





หน้าต่างวินโดสว์


          วินโดสว์ Windows คือ โปรแกรมพิเศษชนิดหนึ่งที่เรียกว่า ระบบปฏิบัติการ (Operatiog System) จาก
บริษัทไมโครซอฟต์ ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ทำให้สามารถใช้โปรแกรมอื่น ๆ ได้



หน้าต่างวินโดวส์ (Windows)



ปุ่ม Start
ปุ่มนี้ใช้เรียกโปรแกรม ไฟล์ ได้สะดวกและรวดเร็ว

ทาสก์บาร์ (Taskbar)
ใช้แสดงชื่อโปรแกรมที่เปิดใช้งานบนวินโดวส์ และแสดง Quick Lunch ที่เป็นไอคอนเล็ก ๆ มุมล่างซ้ายมือ
ที่ใช้เรียกโปรแกรมบ่อย ๆ เช่น Internet Explorer , Outlook Express

เดสก์ทอป (Dasktop)
เป็นพื้นที่ใช้สดงรายละเอียดของโปรแกรม

My Computer
เป็นไอคอนรวมโฟลเดอร์หลัก ๆ ของระบบในเครื่องคอมพิวเตอร์

Internet Explorer
เป็นเบาวเซอร์ที่ใช้สำหรับท่องไปในอินเตอร์เน็ต

Network Neighborhood
แสดงชื่อเซิรฟ์เวอร์ หรือชื่อของคอมพิวเตอร์ที่ได้เชื่อมต่อเป็นเน็ตเวิร์ก

Recycle Bin
เป็นที่เก็บไฟล์ที่ถูกลบทิ้งไปชั่วคราว

หน้าต่าง (Windows)
เป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่ประกอบที่ด้วยอะไรหลาย ๆ อย่าง สามารถปรับเปลี่ยนขนาดของหน้าต่างได้




ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์




ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์

          เครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้งานอยู่ในสำนักงานในบ้านนั้นเรียกว่า ไมโครคอมพิวเตอร์ มีแบบตั้งโต๊ะ(Desktop)  แบบพกพา(Notebook) และ พาล์มทอป(Palmtop)






Desktop

Notebook

Palmtop


ไมโครคอมพิวเตอร์มีส่วนประกอบหลัก ๆ ดังนี้


เคส (Case)
เคส (Case) คือ ส่วนที่บรรจุอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เช่น แผงวงจนหลัก ฮาร์ดิสก์ หน่วยความจำ หน่วยประมวลผล เคสมีทั้ง
แบบแนวนอนและแนวตั้ง



มาเตอร์บอร์ด (Motherboard)
หรือเรียกกันว่าเมนบอร์ด (Mainboard)
แผงวงจรหลัก หรือเมนบอร์ด (Mainboard) ทำหน้าที่เป็นจุดเชื่อมอุปกรณ์ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น ฮาร์ดดิสก์ ฟล็อปปี้ดิสก์
หน่วยความจำ หน่วยประมวลผลกลาง เป็นต้น


ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk)
          ฮาร์ดดิสก์ (Hard Disk) เป็นอุปกรณ์เก็บข้อมูลและโปรแกรม ภายในจะมีข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ บรรจุอยู่


ซีดีรอม (CD - ROM)
           เครื่องขับคอมแพคดิสก์ หรือซีดีรอม (CD-ROM) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้อ่านข้อมูล บนแผ่นซีดี มีความสามารถเก็บข้อมูลได้เป็นจำนวนมาก


แรม (RAM)

          แรม (RAM) เป็นอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลและโปแกรมขณะที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล



CPUหน่วยประมวลผลกลาง
          หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU (Central Processing Unit) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ และทำกรประมวลผลข้อมูล

ดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) 
           หน่วยขับดิสก์ หรือดิสก์ไดรฟ์ (Disk Drive) เป็นอุปกรณ์สำหรับอ่านและเขียนข้อมูลลงบนแผ่นดิสก์ มีขนาด 3.5 นิ้ว

แป้นพิมพ์ (Keyboard)
          แป้นพิมพ์ หรือ คีย์บอร์ด เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้าสู่เครื่องคอมพิวเตอร์


เมาส์ (Mouse)
          เมาส์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ชี้ส่วนต่าง ๆ บนจอภาพ และเรียกโปรแกรมโดยการใช้เมาส์คลิกที่สัญรูปหรือไอคอน (Icon) ที่เป็นตัวแทนของโปรแกรมที่ต้องการ

จอภาพ (Monitor)
          จอภาพ หรือมอนิเตอร์ เป็นอุปกรณ์ทำหน้าที่แสดงผลการประมวลในรูปของภาพ หรือข้อความ

เครื่องพิมพ์ หรือ พริ้นเตอร์ (Printer) 
เป็นอุปกรณ์หน่วยแสดงผลโดยการพิมพ์ข้อมูลออกเป็นตัวอักษร ตัวเลขและรูปภาพ


ลำโพง (Speaker)
ลำโพง หรือสปีคเกอร์ เป็นอุปกรณ์หน่วยสดงผลในรูปของเสียง เช่น เสียงพูด เสียงดนตรี มีในคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบสื่อประสม
หรือมัลติมีเดีย (Multiedia)






พัฒนาการของคอมพิวเตอร์





          จากการพัฒนาของคอมพิวเตอร์ เราแบ่งยุคของคอมพิวเตอร์จากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
โดยแบ่งคอมพิวเตอร์เป็น 4 ยุค ดังนี้

1. ยุคที่ 1 ค.ศ. 1944 - 1958 เป็นยุคที่ใช้หลอดสูญญากาศ

2. ยุคที่ 2 ค.ศ. 1659 - 1964 เป็นยุคที่ใช้ทรานซิสเตอร์

3. ยุคที่ 3 ค.ศ. 1965 - 1970 เป็นยุคที่ใช้ระบบวงจร IC

4. ยุคที่ 4 ค.ศ. 1970 - ปัจจุบัน ซึ่งใช้ระบบ Large Scale Intergrarion (LSI) วงจรกึ่งตัวนำ

          คอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทในประเทศไทยในยุดคอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์ในปี
พ.ศ. 2507 โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำเข้ามาใช้ในการศึกษา ในระยะเวลาเดียวกันสำนักงานสถิติแห่งชาติ
          ก็นำมาเพื่อใช้ในกรคำนวณสำมโนประชากร นับเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นแรกที่ใช้ในประเทศไทย คอมพิวเตอร์ยุคทรานซิสเตอร์นี้
หน่วยเก็บข้อมูลของคอมพิวเตอร์ได้รับารพัฒนาไปมากจนทำให้ระบบการเก็บข้อมูลในจานแม่เหล็กมีความจุได้สูงขึ้นมาก



การแบ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ตามขนาดในการใช้งาน


1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer)

          ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ เป็นเคร่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกออกแบบมาเพื่อใช้ในการคำนวณด้วยความเร็วสูง ใช้ในการสำรวจและ
วิจัยองค์การขนาดใหญ่ของรัฐบาล หรืองานระดับโลก เช่น งานสำรวจอวกาศขององค์ารนาซาร์ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในระบบเครือข่าย
ขนาดใหญ่

          คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ส่งผลให้เกิดความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว เช่น องค์การนาซาของสหรัฐอเมริกา
ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในการคำนวณ และควบคุมยานอวกาศต่าง ๆ ในยุคแรก และมีพัฒนาการต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)

            เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ มีขนาดใหญ่กว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ คือ สามารถทำงานได้รวดเร็วหลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที
จึงเหมาะกับการใช้งานในด้านวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ โดยเฉพาะงานที่ต้องเกี่ยวข้องกับข้อมูลจำนวนมาก เช่น งานธนาคาร
หรืองานของสำนักงานทะเบียนราษฎร์ กระทรวงมหาดไทย เป็นต้น


3. มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)

          มินิคอมพิวเตอร์ มีขนาดใหญ่กว่าไมโครคอมพิเตอร์ เครื่องคอมพิวเตอร์ประเภทนี้มีใช้ตามสถานศึษาระดับอุดมศึกษาหลายแห่ง
มินิคอมพิวเตอร์จึงเหมาะกับงานหลายประเภท เช่น วิศวกรรม วิทยาศาสตร์ และธุรกิจ นอกจากนี้ยังใช้ในหน่วยงานราชการอีกด้วย

4. ไมโครคอมพิวเตร์ (Microcomputer)

          ไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กและมีราคาค่อนข้างถูกคอมพิวเตอร์ประเภทนี้ถูกเรียกว่า
"ไมโครคอมพิวเตอร์" ที่ใช้กันในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเครื่อง Macintosh และกลุ่มเครื่อง PC





ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์



ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์



เราได้ประโยชน์อะไรจากการเรียนคอมพิวเตอร์




1. ทันสมัย / ทันเหตุการณ์ / ทันข้อมูลข่าวสาร / ทันโลก ช่วยให้เราสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ทั่วโลก

2. ช่วยให้การเรียน การทำงาน ทันสมัยและไรับความสะดวกมากยิ่งขึ้น เช่น ได้เรียนรู้จากสื่อที่ทันสมัยที่สร้างด้วยคอมพิวเตอร์
ที่เรียกว่า โปรแกรม CAI

3. เป็นแหล่งการเรียนรู้ที่ดีเยี่ยม ช่วยในการค้นคว้าหาความรู้เป็นห้องสมุดขนาดใหญ่

4. ช่วยรับ - ส่งข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว

5. ช่วยผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น เกม ดูภาพยนตร์ ฟังเพลง ร้องเพลง

6. ช่วยสร้างงานศิลปะ ออกแบบชิ้นงานได้อย่างสร้างสรรค์ สวยงาม


ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

1. ประโยชน์ทางตรง

ช่วยให้มนุษย์ทำงานได้โดยตรงคือคอมพิวเตอร์ทำงานได้เที่ยงตรง รวดเร็ว ไม่เหน็ดเหนื่อย ช่วยผ่อนแรงมนุษย์ ในด้านต่าง ๆ
เช่น ด้านการคำนวณ พิมพ์งาน บันทึกข้อมูล ประมวลผล ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในแวดวงใน หากนำคอมพิวเตอร์เข้าช่วยงาน
จะช่วยแบ่งเบาภาระงานได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ


2. ประโยชน์ทางอ้อม

คอมพิวเตอร์ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต เช่น ช่วยในการเรียนรู้ให้ความปันเทิงความรู้ ช่วยงานบันเทิงพัฒนางานด้านต่าง ๆ
เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีอันส่งผลให้ความเป็นอยู่ของมนุษย์ดีขึ้น เป็นต้น